ระยะแรก (13-22 สิงหาคม) ของ ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้

เริ่มการรุกราน

แนวป้องกันของกองทัพจีนแนวรบของกองทัพญี่ปุ่น

เวลา 9.00 นาฬิกาของวันที่ 13 สิงหาคม มีทหารญี่ปุ่นกว่า 100,000 นายเข้ามาในชานเมืองเซี่ยงไฮ้และระบุจุดยึดที่เขตซาเป่ย, อู่ซ่ง, และเจียงวาน ในเวลาเที่ยงวันกองพลที่ 88 ของจีนโจมตีการบุกของญี่ปุ่นด้วยปืนครก ในเวลา 16.00 น. ของวันนั้นเรือจากกองเรือที่ 3 ของจักรวรรดินาวีญี่ปุ่นในแม่น้ำหวังปู้และแยงซีเกียงโจมตีเมืองเซี่ยงไฮ้ด้วยปืนประจำเรือ ในวันที่ 14 สิงหาคมอากาศยานจีนโจมตีทิ้งระเบิดตำแหน่งของญี่ปุ่นตามมาด้วยถ้อยแถลงป้องกันตัวเองและสงครามป้องกันของรัฐบาลเจียงไคเช็ค ทหารจีนโจมตีภาคพื้นดินกลับในเวลา 15.00 น. แต่ญี่ปุ่นเสริมกำลังป้องกันในเขตสัมปทานต่างชาติทำให้การตีโต้ของจีนล้มเหลว

ปฏิบัติการทางอากาศ

ภายนอกของโรงแรมคาเธย์เซี่ยงไฮ้ หลังจากการระเบิดพลาดของฝ่ายจีน เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 1937[2][3]ภาพถ่ายที่มีชื่อเสียงของเด็กทารกคนหนึ่งท่ามกลางซากปรักหักพังจากการระเบิดของสถานีรถไฟใต้เซี่ยงไฮ้ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1937[4]

ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคมนั้น กองทัพอากาศสาธารณรัฐจีนได้ทำการทิ้งระเบิดเรือธงของญี่ปุ่นอิซุโมะ[5][6][7] เป็นที่รู้จักในชื่อ "วันเสาร์ทมิฬ" เครื่องบินทิ้งระเบิดจากเครื่องบินสาธารณรัฐจีนทิ้งระเบิดพลาดในเขตสัมปทานนานาชาติเซี่ยงไฮ้[3][8] ทำให้พลเรือนเสียชีวิต 700 คน [3][8] เหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้เสียชีวิตพลเรือน 3,000 คนและได้รับบาดเจ็บอันเป็นผลมาจากการทิ้งระเบิดอย่างไม่ตั้งใจโดยส่วนใหญ่เกิดที่ศูนย์รวมความบันเทิงที่ผู้ลี้ภัยพลเรือนได้รวบรวมปักหลักลี้ภัยหลังจากหนีจากการสู้รบ[9] ขณะเดียวกันเครื่องบินญี่ปุ่นจากไต้หวันเริ่มทิ้งระเบิดเซี่ยงไฮ้ ประชาชนหนีออกจากเมืองจนเกิดเป็นความวุ่นวาย แต่การทิ้งระเบิดของญี่ปุ่นถูกกองบินที่ 4 ของเรืออากาศเอกเกาซีหางขัดขวางยิงเครื่องบินญี่ปุ่นตกไปหกลำโดยไม่ได้รับความสูญเสียใดๆทำให้มีการประกาศให้ถือว่าวันที่ 14 สิงหาคมเป็นวันกองทัพอากาศสร้างขวัญและกำลังใจ แต่เครื่องบินของจีนมีจำนวนน้อยและขาดอะไหล่ซ่อมแซม ในช่วงท้ายของการปฏิบัติการเครื่องบินจีนยิงเครื่องบินญี่ปุ่นรวม 81 ลำและจมเรือ 51 ลำแต่จีนสูญเสียเครื่องบิน 91 ลำซึ่งเท่ากับกำลังครึ่งหนึ่งของเครื่องบินจีนที่มีทั้งหมด

แม้ว่านักบินจีนจะดำเนินการต่อสู้อย่างห้าวหาญแต่เซี่ยงไฮ้ยังคงได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางอากาศของญี่ปุ่น พลเรือนนับหมื่นคนเสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดกำลังเสริมจีนสังกัดกองพลที่ 36 มาถึงและโจมตีท่าเรือที่ฮุ่ยซาน การโจมตีของกองพลที่ 36 ประสานงานกับการตีโต้ของกองพลที่ 87 ที่หยางชูปูสร้างแรงกดดันให้กับกองทัพญี่ปุ่น กองพลที่ 36 มีรถถังสนับสนุนฝ่าแนวป้องกันของญี่ปุ่นแต่ทหารราบและรถถังประสานงานไม่มีประสิทธิภาพทำให้สูญเสียท่าเรืออีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดการโจมตีก็ล้มเหลวโดยจีนสูญเสียนายทหาร 90 นายและทหาร 1,000 คน

เรือลาดตระเวนออกัสตาที่จอดอยู่ ณ ท่าเรือเซี่ยงไฮ้สังเกตการณ์การรุกรานของญี่ปุ่นเพื่อรักษาผลประโยชน์ในเขตสัมปทานต่างชาติ แม้ว่าจะเป็นกลางแต่ก็ได้รับการโจมตีจากอากาศยานจีน เคราะห์ดีที่แค่เฉียดๆ ธงอเมริกาขนาดใหญ่ถูกวาดบนป้อมปืนสามป้อมหลักเพื่อแสดงถึงความเป็นกลางแต่เรือได้รับความเสียหายเมื่อกระสุนปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานจีนตกลงมาในวันที่ 20 สิงหาคม เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจแต่ทำให้ความสัมพันธ์ของจีน-อเมริกันตรึงเครียด เรือออกัสตาอยู่ในเซี่ยงไฮ้จนถึงวันที่ 6 มกราคม 1938

การรุกรานระยะแรก

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมจางซีซงเปลี่ยนแผนการใหม่แทนที่เขาจะตีโต้กลับแต่เขาสอนยุทธวิธีใหม่กับคนของเขาด้วยการลอบเข้าอาคารที่มั่นของญี่ปุ่นและระเบิดหรือเผาอาคาร เมื่อทหารญี่ปุ่นหนีออกมาพลปืนกลจะคอยยิงทหารที่หนีออกจากอาคาร ในวันที่ 17 สิงหาคมรถถังเบาของญี่ปุ่นแปรขบวนขับตรงไปยังกองทัพจีนโดยไม่มีการตอบโต้ จางซีซงถูกเจียงไคเช็ควิจารณ์อย่างหนักว่าไร้ความสามารถในเรื่องปล่อยให้กองทัพญี่ปุ่นเจาะแนวป้องกันเข้ามาโดยเฉพาะความสูญเสียเป็นจำนวนมากที่เขาได้รับทำให้เจียงไคเช็คเข้ามาดูแลการป้องกันเซี่ยงไฮ้ด้วยตนเอง

ในวันที่ 22 สิงหาคม กองพลที่ 3 ,8 และ 11 ของพลเอกมัตสุอิยกพลขึ้นบกที่ชวนชาโข่ว (川沙口), ซือจึหลิน (狮子林), และเป่าซาน (宝山) 50 กิโลเมตรทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ภายใต้การคุ้มกันจากปืนเรือรบทำให้ทหารจีนบางส่วนต้องถอนกำลังออกจากเมือง กองกำลังจีนตั้งแนวป้องกันที่ทางรถไฟสายสำคัญโหลเทียน-จวงเซาเท็นในวันที่ 11 กันยายน จอมพลเจียงไคเช็คกระตุ้นให้ทหารจีนที่ขาดแคลนอาวุธเตรียมสู้กับทหารญี่ปุ่นที่ฝึกดีกว่า พลเอกอาวุโสหลี่ซงเหรินให้คำแนะนำจอมพลเจียงว่าให้จำกัดภารกิจและรักษาความแข็งแกร่งของกองทัพสำหรับการเผชิญหน้าในอนาคตเพื่อจะได้เปรียบกว่าข้าศึก จอมพลเจียงปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าจะมีการหารือหลังจากสรุปเหตุการณ์จบ พลเอกจางซีจงและพลเอกจางฟากุ้ยควบคุมกองทหารจีนในเซี่ยงไฮ้

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เทอร์มอพิลี ยุทธการที่วอเตอร์ลู